ประวัติวัดคงคารามที่ตั้ง 1 ม.3 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ในปี 2310 ไทยก็เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า จนพระเจ้ากรุงธนบุรีกู้เอกราชคืนได้ และทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ความทราบถึงหัวหน้ามอญที่หลบซ่อนพม่าอยู่ ก็ชวนสมัครพรรคพวกได้ประมาณ 1,000 ครัวเรือน ก็อพยพหนีพม่าเข้ามาทางด่านนเจดีย์สามองค์ เพื่อเข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร โดยติดต่อผ่านมายังเจ้าพระยารามัญวงศ์ครั้งกรุงเก่าเป็นผู้ช่วยเหลือ แต่พอดีเกิดจลาจลที่กรุงธนบุรี พวกรามัญเหล่านั้น จึงพักพลอยู่ที่เมืองไทรโยค และต่อมาเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเสด็จกลับจากเมืองเขมร ปราบปรามจลาจลลงได้สำเร็จ แล้วทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เจ้าพระยารามัญวงศ์ จึงกราบทูลเรื่อง มอญเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารให้ทรงทราบ พระองค์ทรงเห็นว่า มอญกับไทย ต่างมีศัตรูร่วมกัน คือ พม่า จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้านายเมืองมอญเมืองเมาะลำเลิง ที่เหลือชีวิตอยู่ 7 คน ให้เป็นนายด่านป้องกันพม่า 7 เมือง เมืองด่านทั้ง 7 คือ เมืองไทรโยค ท่าขนุน ท่ากระดาน ท่าตะกั่ว ลุ่มสุ่ม สิงห์ และเมืองทองผาภูมิ (ปัจจุบันเมืองเหล่านี้บ้างก็เป็นอำเภอ บ้างก็ถูกยุบเป็นตำบลอยู่ใน จ.กาญจนบุรี) มอญ เรียกเจ้าเมืองทั้ง 7 นี้ว่า เจี๊ยะเดิงฮ่ะเป๊าะ เจ้าเมืองทั้ง 7 นี้ล้วนแล้วแต่จะเป็นญาติกัน
เจดีย์ทรงรามัญ 7 องค์ รอบๆ พระอุโบสถวัดคงคาราม ซึ่งเป็นตัวแทนของพระยามอญทั้ง 7 ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวไทยรามัญราชบุรี คือ
ที่มา : วัดคงราราม.(_______). พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านและจิตรกรรมฝาผนัง. ________
ที่มาของภาพ : http://img61.imageshack.us/i/65899001in2.jpg/
http://203.172.204.162/intranet/1027_sac/database/museums/G-Museums/17%20Rachaburi/wat_kongkaram/wat_kongkaram.htm
ในปี 2310 ไทยก็เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า จนพระเจ้ากรุงธนบุรีกู้เอกราชคืนได้ และทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ความทราบถึงหัวหน้ามอญที่หลบซ่อนพม่าอยู่ ก็ชวนสมัครพรรคพวกได้ประมาณ 1,000 ครัวเรือน ก็อพยพหนีพม่าเข้ามาทางด่านนเจดีย์สามองค์ เพื่อเข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร โดยติดต่อผ่านมายังเจ้าพระยารามัญวงศ์ครั้งกรุงเก่าเป็นผู้ช่วยเหลือ แต่พอดีเกิดจลาจลที่กรุงธนบุรี พวกรามัญเหล่านั้น จึงพักพลอยู่ที่เมืองไทรโยค และต่อมาเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเสด็จกลับจากเมืองเขมร ปราบปรามจลาจลลงได้สำเร็จ แล้วทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เจ้าพระยารามัญวงศ์ จึงกราบทูลเรื่อง มอญเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารให้ทรงทราบ พระองค์ทรงเห็นว่า มอญกับไทย ต่างมีศัตรูร่วมกัน คือ พม่า จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้านายเมืองมอญเมืองเมาะลำเลิง ที่เหลือชีวิตอยู่ 7 คน ให้เป็นนายด่านป้องกันพม่า 7 เมือง เมืองด่านทั้ง 7 คือ เมืองไทรโยค ท่าขนุน ท่ากระดาน ท่าตะกั่ว ลุ่มสุ่ม สิงห์ และเมืองทองผาภูมิ (ปัจจุบันเมืองเหล่านี้บ้างก็เป็นอำเภอ บ้างก็ถูกยุบเป็นตำบลอยู่ใน จ.กาญจนบุรี) มอญ เรียกเจ้าเมืองทั้ง 7 นี้ว่า เจี๊ยะเดิงฮ่ะเป๊าะ เจ้าเมืองทั้ง 7 นี้ล้วนแล้วแต่จะเป็นญาติกัน
หนึ่งในพญามอญทั้งเจ็ด-พระบันนสติฐบดี(ชัง)
เจ้าเมืองท่าขนุนคนสุดท้าย
เจ้าของภาพ : ผู้ใหญ่ขจิต หลักคงคา
เจ้าเมืองท่าขนุนคนสุดท้าย
เจ้าของภาพ : ผู้ใหญ่ขจิต หลักคงคา
ต่อมาพวกมอญญาติเจ้าเมืองทั้ง 7 นี้ ทราบว่าญาติของตนเองได้เป็นเจ้าเมือง ด่านทั้ง 7 จึงได้อพยพตามเข้ามาอีกประมาณ 5,000 ครัวเรือน ที่อยู่อาศัยจึงคับแคบ บางพวกก็อพยพไปอยู่ปากเกร็ด นนทบุรี เพราะฉะนั้นชาวคงคากับชาวปากเกร็ดในอดีต จึงได้มีการติดต่อสัมพันธ์กันมาตลอด เพิ่งจะมาเลิกติดต่อกันสมัยยุบเลิกคณะสงฆ์รามัญนิกายสมัยรัชกาลที่ 6 นี้เอง แต่พวกที่อยู่ไทรโยคนี้ ที่ราบสำหรับการเพราะปลูกมีน้อย ส่วนมากสมัยนั้นเป็นที่ป่าเขาลำเนาไพรมากกว่า จึงไม่มีที่ทำมาหากิน หัวหน้ามอญทั้ง 7 เห็นความยากลำบากของญาติพี่น้องตน จึงได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปหาเจ้าพระยารามัญวงศ์ และเจ้าพระยามหาโยธา เจ้าพระยาทั้ง 2 จึงได้นำเข้าเฝ้ากราบถวายบังคมทูลขอพระราชทานที่ทำมาหากิน พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระยามอญทั้ง 7 เลือกที่ทำมาหากินเอาเอง โดยพระราชทานท้องตรามาให้ด้วย
พระยามอญทั้ง 7 จึงได้พาสมัครพรรคพวกล่องมาตามลำน้ำแม่กลอง ก็เห็นว่า ช่วงที่เหมาะแก่การเพาะปลูก แมคนอยู่อาศัยน้อย คือ ตั้งแต่เขตอำเภอบ้านโป่ง ถึง อำเภอโพธาราม ซึ่งสมัยนั้นอำเภอทั้งสอง ยังไม่ได้เกิดขึ้น จึงได้ไปรับสมัครพรรคพวกของตนลงมา ส่วนพระยามอญทั้ง 7 นั้นก็ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่หมู่บ้านวัดคงคามราม นี้แล และบรรดาญาติก็ตั้งบ้านเรือนอยู่ 2 ฝั่งแม่น้ำแม่กลองช่วงนี้
ชาวรามัญนั้น นับถือพุทธศาสนาอย่างศรัทธามาแต่เดิมแล้ว ตั้งแต่เสียเมืองให้พม่าแล้ว ก็ยังมิได้มีวัดที่จะประกอบการกุศลเลยสักวัดเดียว พระยามอญทั้ง 7 จึงได้ประชุมชาวรามัญอพยพทั้งหมดสร้างวัดคงคารามนี้ขึ้น ซึ่งชาวรามัญเรียกว่า "เกี้ยโต้" (วัดทรัพย์กลาง) คงคารามนี้ เป็นชื่อที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 นี้เองเจดีย์ทรงรามัญ 7 องค์ รอบๆ พระอุโบสถวัดคงคาราม ซึ่งเป็นตัวแทนของพระยามอญทั้ง 7 ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวไทยรามัญราชบุรี คือ
1.พระนิโครธาภิโค เจ้าเมืองไทรโยค
2.พระชินษณติษฐบดี เจ้าเมืองท่าตะกั่ว
3.พระปัณษณติษฐบดี เจ้าเมืองท่าขนุน
4.พระพลติษฐบดี เจ้าเมืองท่ากระดาน
5.พระนินษณติษฐบดี เจ้าเมืองลุ่มสุ่ม
6.พระเสลภูมิบดี เจ้าเมืองทองผาภูมิ
7.พระสมิงสิงคิบุรินทร์ เจ้าเมืองเมืองสิงห์
พระอุโบสถวัดคงคาราม มีคุณค่าทางศิลปะเป็นอย่างยิ่งและเป็นศูนย์รวมใจของพระภิกษูสงฆ์เชื้อสายรามัญทุกรูป และยังมีภาพจิตกรรมฝาผนังที่ล้ำค่าอยู่ในอุโบสถวัดคงคารามที่ควรศึกษา และอนุรักษ์ไว้
ศาลาการเปรียญ เป็นศาลาทรงเครื่อง ไม้ทุกชิ้นเต็มไปด้วยศิลป์ที่ช่างได้บรรจงแต่งไว้ในศาลาการเปรียญ ซึ่งมีเทพชุมนุมปางผจญมาร และทศชาติ และลายเพดานบนศาลาการเปรียญเป็นลวดลายเดียวกับวัดชมภูเวก ที่ ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี ที่มีแม่พระธรณีบิดมวยผมที่สวยที่สุดในประเทศไทย และเป็นวัดรามัญเก่าแก่เช่นเดียวกับวัดคงคาราม
เรือนไทยที่มีค่ามหาศาล 2 หลัง คือ กุฎิ 7 ห้อง และ 9 ห้อง เป็นเรือนไทยที่ใหญ่และงามที่สุดในประเทศไทยขณะนี้ ปัจจุบันกุฎิ 9 ห้องได้ถูกจัดตั้งให้เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดคงคาราม ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้กันต่อไป เมื่อปี พ.ศ.2542
โลงมอญ ซึ่งมีอายุประมาณ 200 ปี แต่ได้ทำการลงรักปิดทองใหม่ แกะจากไม้ชิ้นเดียวทะลุโปร่ง เป็นลายดอกพุดตาล ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นดอกไม้ประจำชาติมอญในอดีตทีเดียว เพราะชาวรามัญไม่ว่าในถิ่นใด นิยมแกะลายนี้กันทั้งนั้น มีประวัติเล่าว่า ช่างทำมาจากในป่าเมืองกาญจนบุรี แล้วใส่มากับเรือที่ชื่อว่า นางอะสงและมีศพใส่มาด้วย ผ่านหลายๆ วัด วัดไหนก็อยากได้ แต่เรือไม่ยอมหันหน้าเข้าวัด แต่พอมาถึงคงคาก็หันหน้าเข้ามา ชาวบ้านเลยฉุดได้ แต่นี้เป็นเพียงเรื่องเล่า ข้าพเจ้า (หมายถึงผู้เขียนหนังสือไม่ระบุว่าใคร) เลยขออธิบายตามเหตุผลว่า ที่ว่าสร้างมาจากป่าเมืองกาญจนบุรีนั้นคงจะจริง เพราะไม้สักต้นใหญ่ๆ อย่างนั้นคงอยู่ในป่า และศพที่ใส่มานั้น จะเป็นใครไม่ต้องเป็น 1.เป็นพระภิกษุชั้นผู้ใหญ่หรือเจ้าอาวาสวัดคงคาราม 2.เป็นพระยามอญท่านใดท่านหนึ่งที่ไปเสียชีวิตที่เมืองกาญจนบุรีในการไปหาไม้ตัดไม้มาสร้างวัดคงคาราม แต่มิมีบุญที่จะได้มาชื่นชมวัดคงคารามอีก ชาวบ้านที่ไปด้วยซึ่งเป็นผู้มีฝีมือในทางช่างจึงได้สร้างโลงมอญที่งดงามจากไม้ที่ตัดได้เป็นการทดแทนคุณท่าน จนปี พ.ศ.2518 กรมศิลปากรจึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ แต่ถึงอย่างไรก็ตามชาวคงคารามก็พยายามจะรักษาให้อยู่ในสภาพคงเดิมให้มากที่สุด เพราะเคารพฝีมือช่างในอดีตของบรรพบุรษ
ดูเพิ่มเติม
ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดคงคาราม
พระอุโบสถวัดคงคาราม มีคุณค่าทางศิลปะเป็นอย่างยิ่งและเป็นศูนย์รวมใจของพระภิกษูสงฆ์เชื้อสายรามัญทุกรูป และยังมีภาพจิตกรรมฝาผนังที่ล้ำค่าอยู่ในอุโบสถวัดคงคารามที่ควรศึกษา และอนุรักษ์ไว้
ศาลาการเปรียญ เป็นศาลาทรงเครื่อง ไม้ทุกชิ้นเต็มไปด้วยศิลป์ที่ช่างได้บรรจงแต่งไว้ในศาลาการเปรียญ ซึ่งมีเทพชุมนุมปางผจญมาร และทศชาติ และลายเพดานบนศาลาการเปรียญเป็นลวดลายเดียวกับวัดชมภูเวก ที่ ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี ที่มีแม่พระธรณีบิดมวยผมที่สวยที่สุดในประเทศไทย และเป็นวัดรามัญเก่าแก่เช่นเดียวกับวัดคงคาราม
เรือนไทยที่มีค่ามหาศาล 2 หลัง คือ กุฎิ 7 ห้อง และ 9 ห้อง เป็นเรือนไทยที่ใหญ่และงามที่สุดในประเทศไทยขณะนี้ ปัจจุบันกุฎิ 9 ห้องได้ถูกจัดตั้งให้เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดคงคาราม ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้กันต่อไป เมื่อปี พ.ศ.2542
โลงมอญ ซึ่งมีอายุประมาณ 200 ปี แต่ได้ทำการลงรักปิดทองใหม่ แกะจากไม้ชิ้นเดียวทะลุโปร่ง เป็นลายดอกพุดตาล ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นดอกไม้ประจำชาติมอญในอดีตทีเดียว เพราะชาวรามัญไม่ว่าในถิ่นใด นิยมแกะลายนี้กันทั้งนั้น มีประวัติเล่าว่า ช่างทำมาจากในป่าเมืองกาญจนบุรี แล้วใส่มากับเรือที่ชื่อว่า นางอะสงและมีศพใส่มาด้วย ผ่านหลายๆ วัด วัดไหนก็อยากได้ แต่เรือไม่ยอมหันหน้าเข้าวัด แต่พอมาถึงคงคาก็หันหน้าเข้ามา ชาวบ้านเลยฉุดได้ แต่นี้เป็นเพียงเรื่องเล่า ข้าพเจ้า (หมายถึงผู้เขียนหนังสือไม่ระบุว่าใคร) เลยขออธิบายตามเหตุผลว่า ที่ว่าสร้างมาจากป่าเมืองกาญจนบุรีนั้นคงจะจริง เพราะไม้สักต้นใหญ่ๆ อย่างนั้นคงอยู่ในป่า และศพที่ใส่มานั้น จะเป็นใครไม่ต้องเป็น 1.เป็นพระภิกษุชั้นผู้ใหญ่หรือเจ้าอาวาสวัดคงคาราม 2.เป็นพระยามอญท่านใดท่านหนึ่งที่ไปเสียชีวิตที่เมืองกาญจนบุรีในการไปหาไม้ตัดไม้มาสร้างวัดคงคาราม แต่มิมีบุญที่จะได้มาชื่นชมวัดคงคารามอีก ชาวบ้านที่ไปด้วยซึ่งเป็นผู้มีฝีมือในทางช่างจึงได้สร้างโลงมอญที่งดงามจากไม้ที่ตัดได้เป็นการทดแทนคุณท่าน จนปี พ.ศ.2518 กรมศิลปากรจึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ แต่ถึงอย่างไรก็ตามชาวคงคารามก็พยายามจะรักษาให้อยู่ในสภาพคงเดิมให้มากที่สุด เพราะเคารพฝีมือช่างในอดีตของบรรพบุรษ
ดูเพิ่มเติม
ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดคงคาราม
ที่มา : วัดคงราราม.(_______). พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านและจิตรกรรมฝาผนัง. ________
ที่มาของภาพ : http://img61.imageshack.us/i/65899001in2.jpg/
http://203.172.204.162/intranet/1027_sac/database/museums/G-Museums/17%20Rachaburi/wat_kongkaram/wat_kongkaram.htm