เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2554 ที่จะถึงนี้ ทางรัฐบาลจะจัดให้มี "พิธีเสกทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์" ขึ้นเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเป็นน้ำสรงอภิเษกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในพระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคมรับการถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554
ประกอบกับจังหวัดราชบุรี ได้รับมอบหมายให้จัดสร้าง "โถสำหรับใส่น้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์" เพื่อใส่น้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศรวม 77 จังหวัด ผู้จัดทำจึงได้พยายามสืบค้นเรื่องนี้ จนกระทั่งได้ไปพบโดยบังเอิญว่า "แม่น้ำราชบุรีของเราเป็นหนึ่งในเบญจสุทธคงคา ที่ใช้ทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์มาตั้งแต่ในสมัยก่อนแล้ว"
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (2550,12-15) ได้เขียนเรื่องนี้ไว้ว่า
ประกอบกับจังหวัดราชบุรี ได้รับมอบหมายให้จัดสร้าง "โถสำหรับใส่น้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์" เพื่อใส่น้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศรวม 77 จังหวัด ผู้จัดทำจึงได้พยายามสืบค้นเรื่องนี้ จนกระทั่งได้ไปพบโดยบังเอิญว่า "แม่น้ำราชบุรีของเราเป็นหนึ่งในเบญจสุทธคงคา ที่ใช้ทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์มาตั้งแต่ในสมัยก่อนแล้ว"
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (2550,12-15) ได้เขียนเรื่องนี้ไว้ว่า
"ตามตำราข้างพราหมณ์ กล่าวว่าแหล่งน้ำสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ได้แก่ น้ำจากแม่น้ำห้าสายในชมพูทวีป คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำมหิ แม่น้ำยมนา แม่น้ำอจิรวดี และแม่น้ำสรภู ซึ่งรวมเรียกว่า "ปัญจมหานที" เพราะเชื่อว่าแม่น้ำทั้ง 5 สาย ไหลมาจากเขาไกรลาส ซึ่งเป็นที่สถิตของพระอิศวร
แหลงน้ำที่สำคัญและเป็นสิริมงคลตามโบราณราชประเพณีไทยนั้น จากหลักฐานในราชกิจจานุเบกษา ฉบับจดหมายเหตุ พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และพระราชพิธีเฉลิมพระราชมนเทียร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดลยเดชฯ พุทธศักราช 2493 และจากหนังสือชุดราชประเพณีไทย เรื่อง "พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์" เรียบเรียงโดย หมอมราชวงศ์แสงสูรย์ ลดาวัลย์ คณะอนุกรรมการจัดทำเอกสารภาษาไทย ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีจัดพิมพ์เผยแพร่ ได้กล่าวถึง แหล่งน้ำสำคัญและสถานที่เสกทำน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้เป็นน้ำสรงมูรธาภิเษกในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาสืบเนื่องมาถึงรัชกาลปัจจุบัน สำหรับน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้การพระราชพิธีอื่นยังสอบไม่พบหลักฐานแน่ชัด
แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้จากหนังสือทั้งสองเล่มเกี่ยวกับแหล่งน้ำสำคัญและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ได้รับความเคารพเลื่อมใสกันมาแต่โบราณกาล มีความโดยสังเขป ดังนี้
น้ำสรงมูรธาภิเษก ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการใช้น้ำจาก สระเกษ สระแก้ว สระคงคา สระยมนา ในแขวงเมืองสุพรรณบุรี แต่จะใช้น้ำในปัญจมหานทีในชมพูทวีปด้วยหรือไม่นั้นไม่ปรากฏ
หลักฐานในสมัยกรุงธนบุรีมิได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ น้ำสรงมูรธาภิเษก ในรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 4 นอกจากจะใช้น้ำจากสระเกษ สระแก้ว สระคงคา สระยมนา ดังเช่นสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว ยังมีการใช้น้ำในแม่น้ำสำคัญของประเทศเพิ่มเติมอีก 5 สาย คือ
- แม่น้ำบางประกง ตักที่บึงพระอาจารย์ แขวงเมืองนครนายก
- แมน้ำป่าสัก ตักที่ตำบลท่าราบ แขวงเมืองสระบุรี
- แม่น้ำเจ้าพระยา ตักที่ตำบลบางแก้ว แขวงเมืองอ่างทอง
- แม่น้ำราชบุรี ตักที่ตำบลดาวดึงส์ แขวงเมืองสมุทรสงคราม
- แม่น้ำเพชรบุรี ตักที่ตำบลท่าไชย แขวงเมืองเพชรบุรี
และต่อมาน้ำสรงมูรธาภิเษกในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในรัชกาลที่ 5 ถึง 8 ก็ยังคงใช้น้ำเบญจสุทธคงคา ตลอดมา อาจเพิ่มเติมจากแหล่งน้ำอื่นๆ ตามแต่ความเชื่อในแต่ละสมัย ซึ่งผู้จัดทำจะไม่ขอกล่าวถึง (ผู้อ่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ น้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธ์ แหล่งน้ำสำคัญ ตามโบราณราชประเพณี)
แม่น้ำราชบุรี บริเวณคลองสามแยกหน้าวัดดาวดึงส์ ที่มาของภาพ http://www.teawtourthai.com/samutsongkhram/?id=2547 |
ในเว็บไซต์ หมอชิต และเที่ยวทั่วไทย เขียนเรื่องเกี่ยวกับ แม่น้ำราชบุรี เบญจสุทธคงคา สอดคล้องกันโดยกล่าวว่า "แม่น้ำราชบุรี บริเวณคลองสามแยกหน้าวัดดาวดึงส์ ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม บริเวณจุดที่กำหนดให้เป็นจุดตักน้ำศักดิ์สิทธิ์นั้น คือ บริเวณสามแยกที่น้ำจะไหลมาจากคลอง 3 คลอง คือ คลองผีหลอก คลองอัมพวา และคลองดำเนินสะดวก โดยน้ำที่ไหลมาจากคลองทั้งสามแห่งจะมาบรรจบกัน ณ จุดนี้ ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำแม่กลอง ซึ่งบริเวณจุดตัดดังกล่าวเป็นวังน้ำวนที่น้ำลึกและเชี่ยวมาก ถือเป็นบ่อที่ลึกที่สุดในบริเวณนั้น
นอกจากนั้นประวัติศาสตร์ยังบันทึกไว้ว่า ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้น ณ คลองอัมพวา ได้เสด็จมาประทับยังศาลาการเปรียญในวัดดาวดึงส์ และจัดทำเครื่องเสวยในบริเวณนั้น ซึ่งการเสด็จในครั้งนั้นได้สรงน้ำในคลองสามแยก ทั้งยังใช้น้ำดังกล่าวเพื่อประกอบการทำเครื่องเสวยอีกด้วย ชาวบ้านในละแวกนั้นจึงถือว่าน้ำที่คลองสามแยก หน้าวัดดาวดึงส์แห่งนี้เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ มีการอัญเชิญมาใช้เพื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบัน"
แม่น้ำราชบุรีอยู่ที่ไหน
จากการพบบันทึกต่างๆ ที่กล่าวมาทำให้ผู้จัดทำ รู้สึกว่า "แม่น้ำราชบุรี คือแม่น้ำแม่กลอง ใช่หรือไม่" เพราะไม่ค่อยมีการบันทึกเรื่องราวของ "แม่น้ำราชบุรี" เลย มีแต่เรื่องราวของแม่น้ำแม่กลองหรือลำน้ำแม่กลองเท่านั้น และในยุคสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ก็มีเมืองแม่กลองเกิดขึ้นแล้ว
ส่วนจุดตักน้ำศักดิ์สิทธ์ ที่อยู่ตรงคลองสามแยกหน้าวัดดาวดึงส์ ต.บางช้าง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม นั้นก็พอสันนิษฐานได้ว่า ตรงนั้นเป็นที่อยู่ของราชินีกุลบางช้าง (สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1) ซึ่งน่าจะสะดวกในการกระทำพิธี
ส่วนที่ระบุว่า บริเวณจุดที่กำหนดให้เป็นจุดตักน้ำศักดิ์สิทธิ์นั้น คือ บริเวณสามแยกที่น้ำจะไหลมาจากคลอง 3 คลอง คือ คลองผีหลอก คลองอัมพวา และคลองดำเนินสะดวก แต่ก็มีข้อสงสัยว่า คลองดำเนินสะดวกนั้น ขุดเสร็จและเปิดใช้งานในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411) ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 1-4 จึงน่าจะยังไม่มีคลองดำเนินสะดวก
ดังนั้น จุดตักน้ำเพื่อใช้ทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์และแม่น้ำราชบุรี เบญจสุทธคงคา นี้ ผู้จัดทำก็ยังไม่แน่ใจว่าที่ค้นคว้ามาให้อ่านนี้จะถูกต้องหรือไม่ หากท่านใดมีความรู้หรือข้อมูลเพิ่มเติมโปรดช่วยแสดงเอาไว้ที่ท้ายบทความนี้ เพื่อเป็นความรู้ที่ถูกต้องต่อไป
ส่วนจุดตักน้ำศักดิ์สิทธ์ ที่อยู่ตรงคลองสามแยกหน้าวัดดาวดึงส์ ต.บางช้าง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม นั้นก็พอสันนิษฐานได้ว่า ตรงนั้นเป็นที่อยู่ของราชินีกุลบางช้าง (สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1) ซึ่งน่าจะสะดวกในการกระทำพิธี
ส่วนที่ระบุว่า บริเวณจุดที่กำหนดให้เป็นจุดตักน้ำศักดิ์สิทธิ์นั้น คือ บริเวณสามแยกที่น้ำจะไหลมาจากคลอง 3 คลอง คือ คลองผีหลอก คลองอัมพวา และคลองดำเนินสะดวก แต่ก็มีข้อสงสัยว่า คลองดำเนินสะดวกนั้น ขุดเสร็จและเปิดใช้งานในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411) ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 1-4 จึงน่าจะยังไม่มีคลองดำเนินสะดวก
จุกตักน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ คลองสามแยกหน้าวัดดาวดึงส์ ต.บางช้าง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม (สันนิษฐานโดยผู้จัดทำ..อาจไม่ถูกต้อง) ที่มาของแผนที่ http://maps.google.co.th |
ดังนั้น จุดตักน้ำเพื่อใช้ทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์และแม่น้ำราชบุรี เบญจสุทธคงคา นี้ ผู้จัดทำก็ยังไม่แน่ใจว่าที่ค้นคว้ามาให้อ่านนี้จะถูกต้องหรือไม่ หากท่านใดมีความรู้หรือข้อมูลเพิ่มเติมโปรดช่วยแสดงเอาไว้ที่ท้ายบทความนี้ เพื่อเป็นความรู้ที่ถูกต้องต่อไป
**************************************************
ที่มาข้อมูล
- กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท่องถิ่น. (2550). หนังสือน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550.[Online]. Available :http://www.stabundamrong.go.th/web/holywater/water2.PDF. [2554 กรกฏาคม 21].
- หมอชิต.(2554).แม่น้ำราชบุรี เบญจสุทธิคงคา.[Online]. Available :http://www.mochit.com/place/2258. [2554 กรกฎาคม 21 ].
- เที่ยวทั่วไทย.(2554).แม่น้ำราชบุรี เบญจสุทธิคงคา จ.สมุทรสงคราม.[Online]. Available :http://www.teawtourthai.com/samutsongkhram/?id=2547. [2554 กรกฎาคม 21 ].