เมื่อประมาณ 1,000 ปี ล่วงมาแล้ว สมัยทวาราวดีมีหลักศิลาจารึกว่า "เจ้าพ่อหลักหิน" ประดิษฐานอยู่ระหว่างบ้านหนองเกสร กับวัดโขลง ใกล้เคียงกับวัดคูบัว
ต่อมาประมาณ 60-70 ปีมาแล้ว ได้มีชาวนาแถวบริเวณหนองเกสร เขตตำบลเกาะศาลพระ กำลังลงแขกนวดข้าว ขณะนั้นมีปลากำลังไล่กวดกัน ในลำคลองใกล้กับที่นวดข้าว ชาวนาจึงลงไปงมปลาในลำคลอง น้ำในลำคลองกับสงบนิ่ง ไม่ปรากฏว่ามีปลาแม้แต่ตัวเดียว คงงมได้หลักศิลาขึ้นมาจากลำคลองแห่งนั้นแทน ความยาวประมาณเมตรเศษ เชื่อกันว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงนำเอาหลักศิลานี้ขึ้นเกวียน แล้วร่วมกันแห่แหน เพื่อเอามามอบให้ที่ว่าการกิ่ง อำเภอวัดเพลง ปรากฎว่าการคมนาคมสมัยนั้นลำบากมาก ไม่มีถนนหนทาง จนกระทั่งนำหลักศิลานี้มาพักไว้ที่วัดเวียงทุน ตำบลเกาะศาลพระ ต่อมาในที่สุดก็ได้มาถึงที่ว่าการกิ่งอำเภอวัดเพลง โดยเชิญชวนให้ประชาชนกราบไหว้ เสมือนหนึ่งเป็นหลักเมืองของกิ่งอำเภอวัดเพลงประชาชนเรียกว่า "เจ้าพ่อหลักหิน"
ความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหาร
ต่อมามีบุคคลกลุ่มหนึ่งประพฤติมิชอบ ได้มาบนบานศาลกล่าวต่อเจ้าพ่อหลักหิน เมื่อไม่สัมฤทธิ์ผล จึงได้ปัสสาวะรด และใช้ไฟเผาจากนั้นก็เอาน้ำราด แล้วยกหลักหินทุ่มลงไปในแม่น้ำแควอ้อม หลังจากนั้นก็เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง สร้างความเดือดร้อนให้ข้าราชการและประชาชนทุกหมู่เหล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนที่ดูถูกเจ้าพ่อหลักหิน ก็มีอันเป็นไปต่างๆ นาๆ เนื่องจากความศักดิ์สิทธิ์และปาฎิหารย์ของเจ้าพ่อหลักหิน จนถึงแก่ชีวิตและได้เกิดโรคระบาด ทำให้ประชาชนล้มตายกันเป็นจำนวนมาก ข้าราชการครูก็ถูกฆาตกรรม และเกิดอุบัติเหตุตายกันเป็นประจำ สร้างความหวาดกลัวแก่ชาวกิ่งอำเภอวัดเพลงโดยทั่วไป
ต่อมาได้มีบุคคลที่อยู่ในวงข้าราชการคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า เจ้าพ่อหลักหินได้มาเข้าฝัน โดยขอให้ร่วมมือกันอัญเชิญ หลักศิลาเจ้าพ่อหลักหินขึ้นมาจากแม่น้ำแควอ้อม แล้วนำมาประดิษฐานไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอวัดเพลงอีกครั้งหนึ่ง ปรากฎว่าหลักศิลาเจ้าพ่อหลักหินหักเป็นสองท่อน และแตกเป็นเสี่ยงๆ จึงได้ทำพิธีบวงสรวงขอขมาลาโทษ จึงทำให้เหตุการณ์ต่างๆ สงบเรียบร้อย ประชาชนชาวอำเภอวัดเพลง อยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข และทางราชการก็มีความเจริญรุ่งเรืองสืบมาจนทุกวันนี้
จากความเชื่อและปรากฏการณ์ที่ได้ผลมาแล้ว คือบนบานสิ่งของที่หายไปได้คืน ขอให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ และขอบันดาลความสำเร็จตามความประสงค์ต่างๆ จนเป็นที่นิยมนับถือกันตลอดมา สิ่งที่โปรดปราณในการบนบานก็คือ หนังตะลุงและประทัด
ดูเพิ่มเติม
ประวัติเจ้าพ่อหลักหิน ฉบับภาพวาดและบทกลอน
ที่มาข้อมูล
สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอวัดเพลง. (2542). ประวัติศาลเจ้าพ่อหลักหิน อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี. เอกสารหมายเลข 1/2542. ราชบุรี : โรงเรียนวัดแจ้งเจริญ. (หน้า 7-8)
ต่อมามีบุคคลกลุ่มหนึ่งประพฤติมิชอบ ได้มาบนบานศาลกล่าวต่อเจ้าพ่อหลักหิน เมื่อไม่สัมฤทธิ์ผล จึงได้ปัสสาวะรด และใช้ไฟเผาจากนั้นก็เอาน้ำราด แล้วยกหลักหินทุ่มลงไปในแม่น้ำแควอ้อม หลังจากนั้นก็เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง สร้างความเดือดร้อนให้ข้าราชการและประชาชนทุกหมู่เหล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนที่ดูถูกเจ้าพ่อหลักหิน ก็มีอันเป็นไปต่างๆ นาๆ เนื่องจากความศักดิ์สิทธิ์และปาฎิหารย์ของเจ้าพ่อหลักหิน จนถึงแก่ชีวิตและได้เกิดโรคระบาด ทำให้ประชาชนล้มตายกันเป็นจำนวนมาก ข้าราชการครูก็ถูกฆาตกรรม และเกิดอุบัติเหตุตายกันเป็นประจำ สร้างความหวาดกลัวแก่ชาวกิ่งอำเภอวัดเพลงโดยทั่วไป
ต่อมาได้มีบุคคลที่อยู่ในวงข้าราชการคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า เจ้าพ่อหลักหินได้มาเข้าฝัน โดยขอให้ร่วมมือกันอัญเชิญ หลักศิลาเจ้าพ่อหลักหินขึ้นมาจากแม่น้ำแควอ้อม แล้วนำมาประดิษฐานไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอวัดเพลงอีกครั้งหนึ่ง ปรากฎว่าหลักศิลาเจ้าพ่อหลักหินหักเป็นสองท่อน และแตกเป็นเสี่ยงๆ จึงได้ทำพิธีบวงสรวงขอขมาลาโทษ จึงทำให้เหตุการณ์ต่างๆ สงบเรียบร้อย ประชาชนชาวอำเภอวัดเพลง อยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข และทางราชการก็มีความเจริญรุ่งเรืองสืบมาจนทุกวันนี้
จากความเชื่อและปรากฏการณ์ที่ได้ผลมาแล้ว คือบนบานสิ่งของที่หายไปได้คืน ขอให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ และขอบันดาลความสำเร็จตามความประสงค์ต่างๆ จนเป็นที่นิยมนับถือกันตลอดมา สิ่งที่โปรดปราณในการบนบานก็คือ หนังตะลุงและประทัด
ดูเพิ่มเติม
ประวัติเจ้าพ่อหลักหิน ฉบับภาพวาดและบทกลอน
ที่มาข้อมูล
สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอวัดเพลง. (2542). ประวัติศาลเจ้าพ่อหลักหิน อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี. เอกสารหมายเลข 1/2542. ราชบุรี : โรงเรียนวัดแจ้งเจริญ. (หน้า 7-8)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น