หลวงปู่หนู ฉินนะกาโม
วัดทุ่งแหลม อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
คำนิยม
คำนิยม
ประวัติหลวงปู่หนู ฉินนะกาโม วัดทุ่งแหลม
เหรียญของหลวงปู่ที่เล่นหากันในราคาสูงมีอยู่ไม่กี่รุ่น ส่วนมากจะเป็นรุ่นแรก ๆ ส่วนรุ่นหลัง ๆ จะไม่ค่อยแพง พระเครื่องของท่านจึงถือว่าเป็นของดีราคาถูกเพราะส่วนมากจะทันท่านเสกหมด ปัจจุบันยังพอหาได้
หลังจากสิ้นหลวงปู่หนูแล้ว พระครูดัด เจ้าอาวาสรูปต่อมาท่านได้รับวิชานี้ไว้ แต่ไม่ได้ลงมือสักเอง ได้ให้ฆราวาสท่านหนึ่งเป็นผู้ลงเข็มสักให้ ส่วนท่านจะเป่าครอบเอง ต่อมาอาจารย์ฆราวาสท่านนั้นก็ได้วางเข็มไปในที่สุด
ที่มาของข้อมูลและภาพ
อาราธนานัง. (2553). เหรียญหลวงปู่หนู ฉินนกาโม วัดทุ่งแหลม : พระเครื่องตั้มศรีวิชัย.[Online]. Available :http://www.tumsrivichai.com/. [2554 มกราคม 21 ].
อ่านต่อ >>
วัดทุ่งแหลม อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
คำนิยม
เจ้าตำรับหนุมานเชิญธงแห่งเมืองโอ่ง รวมทั้งเหรียญของท่านมีพุทธคุณสูงเป็นที่เล่าขานกันปากต่อปากมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะประสบการณ์ด้านแคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพันชาตรี และสยบ “ระเบิด”
คำนิยม
ย้อนไปเมื่อ 20-30 ปีก่อน ทหารในค่ายภาณุรังษี และ ชายฉกรรจ์ในแถบราชบุรี - กาญจนบุรี ต่างพากันไปกราบขอรอยสักจากหลวงปู่หนู วิชาที่โดดเด่นสุดของท่านคือ "หนุมานเชิญธง" ว่ากันว่า เหนียวสุดฯ สรรพวิชาของหลวงปู่หนูทั้งหมดตกไปอยู่ที่ หลวงพ่อดัด เจ้าอาวาสรูปต่อมา(หลวงพ่อดัดมรณภาพไปแล้ว) เป็นที่น่าเสียดายว่าไม่มีผู้ใดสืบทอดไว้
ประวัติหลวงปู่หนู ฉินนะกาโม วัดทุ่งแหลม
หลวงปู่หนู ฉินนกาโม มีนามเดิมว่า หนู เจริญวิทยา เกิดเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2438 ที่ หมู่ 5 ต.หนองโพ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี โยมบิดา ชื่อ นายฮง มารดาชื่อ นางบาง
จบชั้นประถมปีที่ ๔ โรงเรียนวัดหนองโพ แล้วช่วยบิดา-มารดาทำงานทางบ้าน จากนั้นได้บวชเป็นสามเณร ณ วัดหนองโพ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้ นักธรรมโท
เหรียญหลวงปู่หนู ฉินนกาโม วัดทุ่งแหลม รุ่นสุดท้าย,รุ่นแจกแม่ครัว และรุ่นคทาไขว้ |
นอกจากมงคลวัตถุของท่านจะศักดิ์สิทธิ์มีประสบการณ์มากมายแล้ว
ตัวท่านยังมีชื่อเสียงในด้านการสักอักขระเลขยันต์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะทหารแถบกาญจนบุรี และราชบุรี เมื่อสมัย ๓๐-๔๐ ปีที่แล้ว ล้วนเป็นศิษย์หลวงปู่หนูมากมาย โดยเฉพาะยันต์หนุมานเชิญธงถือว่าหลวงปู่เป็นเจ้าตำรับ
ตัวท่านยังมีชื่อเสียงในด้านการสักอักขระเลขยันต์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะทหารแถบกาญจนบุรี และราชบุรี เมื่อสมัย ๓๐-๔๐ ปีที่แล้ว ล้วนเป็นศิษย์หลวงปู่หนูมากมาย โดยเฉพาะยันต์หนุมานเชิญธงถือว่าหลวงปู่เป็นเจ้าตำรับ
เหรียญหลวงปู่หนู รุ่นแรก วัดทุ่งแหลม |
ขณะบวชเป็นสามเณร ท่านได้สนใจศึกษาวิชาทางไสยศาสตร์และเวทมนตร์คาถาพุทธาคม ต่าง ๆ จึงไปเรียนกับ หลวงพ่อหลาบ วัดเนินตอ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี จนเชี่ยวชาญ จากนั้นได้ไปเรียนกับ หลวงพ่อหลุง วัดทุ่งสมอ อีก 3 ปี กระทั่งอายุครบบวชในปี พ.ศ. 2458 จึงทำการอุปสมบทที่ วัดใหม่เจริญผล โดยมี หลวงพ่อปลิว เป็นพระอุปัชฌาย์แล้วไปจำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดเขาคร้อ หนึ่งพรรษาจึงไปเรียนวิชาพุทธาคม และวิปัสสนากับ “หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน” จ.สุพรรณบุรี
จากนั้นได้ไปเรียนวิชากับ หลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง และหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ.นครปฐม ซึ่งระหว่างเรียนวิชากับ “หลวงพ่อแช่ม” นั้นท่านได้พบกับ ศิษย์อีกคนหนึ่งของหลวงพ่อแช่มที่มาเรียนด้วย คือ หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม จ.นครปฐม จากนั้นจึงไปจำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดเขาคร้อ จนคณะสงฆ์เห็นในศีลาจารวัตรของท่านเหมาะสมจึงนิมนต์ให้ท่านไปเป็นเจ้าอาวาสวัดกระต่ายเต้น อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี แต่อยู่ได้ไม่นานเกิดความเบื่อหน่ายกับการบริหารจัดการวัดร่วมกับกรรมการจึง ขอลาสิกขาออกไปใช้ชีวิตฆราวาสอยู่ที่ อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี ซึ่งระหว่างเป็นฆราวาสอยู่นั้นก็ยังคงปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอ
ต่อมาเมื่อถึงวันที่ 30 เมษายน 2502 ท่านได้ตัดสินใจอุปสมบทอีกครั้ง ณ วัดกุฎบางเค็ม อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี โดยมี พระครูเกษมสุตคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาเปรย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ฉินนกาโม” และไปจำพรรษาปฏิบัติธรรม ณ วัดไทยธรรมาราม อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 5 พรรษาจึงกลับมาวัดกุฎบางเค็ม ชาวบ้านทุ่งแหลม เลื่อมใสในศีลาจารวัตรจึงนิมนต์ให้ไปจำพรรษาที่วัดทุ่งแหลม อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี โดยได้ทำการพัฒนาวัดทุ่งแหลมจนเจริญก้าวหน้าเป็นลำดับมา
ระหว่างอยู่วัดทุ่งแหลมนี้เองมีประชาชนเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านมาก ท่านจึงได้สร้างมงคลวัตถุออกแจกจ่ายแก่ประชาชน และศิษยานุศิษย์มากมายหลายรุ่น ซึ่งก็มีประสบการณ์มากมาย จวบจนกระทั่งถึงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2529 ท่านจึงละสังขารมรณภาพอย่างสงบ คงทิ้งไว้แต่อนุสรณ์แห่งความดีงามและมงคลวัตถุตลอดจนสังขารที่ไม่เน่าเปื่อย ซึ่งทางวัดได้ใส่หีบแก้วไว้ให้เป็นที่พึ่งทางใจแก่ศิษยานุศิษย์ผู้เลื่อมใส ศรัทธาต่อไป
ที่มาของข้อมูลและภาพ
อาราธนานัง. (2553). เหรียญหลวงปู่หนู ฉินนกาโม วัดทุ่งแหลม : พระเครื่องตั้มศรีวิชัย.[Online]. Available :http://www.tumsrivichai.com/. [2554 มกราคม 21 ].