วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

พิธีพระราชทานพระพุทธรูปสี่มุมเมือง

การสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ เพื่อเป็นที่สักการะประจำทั้งสี่ทิศนั้นยังไม่เคยปรากฏมาก่อน จึงนับเป็นครั้งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่ได้มีการสร้างพระพุทธรูปขนาดหน้าตัก 49 นิ้ว เรียกว่า "พระพุทธนิรโรคัรตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ" หรือ "พระสี่มุมเมือง" เพื่อให้ประชาชนทั้งประเทศได้สักการะบูชา โดยกรมการรักษาดินแดน ซึ่งในสมัยนั้นมี พลโทยุทธ์  สมบูรณ์ เป็นเจ้ากรมการรักษาดินแดน เป็นผู้ดำริและดำเนินการ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ ณ กรมการรักษาดินแดน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2511 โลหะที่ใช้ในการหล่อประกอบด้วย ทองเหลือง 3 ส่วน ทองแดง 1 ส่วน ทองขาว 1 ส่วน รวมโลหะทั้งสิ้นประมาณ 400 กิโลกรัม มีพุทธลักษณะเหมือนกับพระนิรโรคันตรายทุกประการ

เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วได้พระราชทานให้จังหวัด 4 จังหวัด อัญเชิญไปประดิษฐานไว้สักการะประจำแต่ละทิศ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2511 คือ
  • ทิศเหนือ พระราชทานให้ประดิษฐานไว้ที่จังหวัดลำปาง
  • ทิศใต้ พระราชทานให้ประดิษฐานไว้ที่จังหวัดพัทลุง
  • ทิศตะวันออก พระราชทานให้ประดิษฐานไว้ที่จังหวัดสระบุรี
  • ทิศตะวันตก พระราชทานให้ประดิษฐานไว้ที่จังหวัดราชบุรี
ปัจจุบันพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศประจำทิศตะวันตก ประดิษฐานอยู่ในศาลาจตุรมุข บนยอดเขาแก่นจันทน์ อ.เมือง จ.ราชบุรี นับเป็นปูชนียวัตถุและปูชนียสถานอันล้ำค่าของจังหวัดราชบุรี


















เจ้ากรมการรักษาดินแดนกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี จังหวัดพัทลุง จังหวัดสระบุรี และจังหวัดลำปาง เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ เพื่อเชิญไปประดิษฐานในแต่ละจังหวัด เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม  พ.ศ.2511

























พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระสุหร่ายพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ

























นายยุทธ  หนุนภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี รับพระราชทานพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศไปประดิษฐาน ณ จังหวัดราชบุรี


**************************
ที่มาข้อมูลและภาพ
  • คณะทำงานจัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ.(2553).พระมหากรุณาธิคุณต่อจังหวัดราชบุรี.กรุงเทพฯ : บางกอกอินเฮ้าส์. (ดูภาพหนังสือ)
อ่านต่อ >>

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

รายชื่อสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรีตามมติมหาเถรสมาคม

บัญชีรายชื่อสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี   ตามมติมหาเถรสมาคม โดยอาศัยระเบียบมหาเถรสมาคม  ว่าด้วยการจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด  พ.ศ. 2543 - ปัจจุบัน

มหานิกาย  จำนวน 27 แห่ง
  1. วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ต.แพงพวย อ.ดำเนินสะดวก /เจ้าอาวาส พระราชญาณวิสิฐ /ตามมติ มส. ครั้งที่ 3/2544
  2. วัดเขาวัง ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี /เจ้าอาวาส พระเมธีวราภรณ์ /ตามมติ มส. ครั้งที่  22/2548
  3. วัดพระศรีอารย์ ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม /เจ้าอาวาส พระครูวิทิตพัฒนโสภณ/ ตามมติ มส. ครั้งที่ 5/2550
  4. วัดมหาธาตุ ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี /เจ้าอาวาส พระเทพวิสุทธาภรณ์ /ตามมติ มส.ครั้งที่ 2/2551
  5. วัดโชติทายการาม ต.ดำเนินสะดวก อ.ดำเนินสะดวก /เจ้าอาวาส พระมหาประกอบ โชติปญฺโญ /ตามมติ มส. ครั้งที่ 2/2551
  6. วัดท่าเรือ ต.แพงพวย อ.ดำเนินสะดวก /เจ้าอาวาส พระครูนิวิฐธรรมาภรณ์ /ตามมติ มส.ครั้งที่ 2/2551
  7. วัดนาหนอง ต.ดอนแร่ อ.เมืองราชบุรี /เจ้าอาวาส พระครูสิริคณาภรณ์ จอ. /ตามมติ มส.ครั้งที่ 24/2551
  8. วัดหนองหอย ต.เขาแร้ง อ.เมืองราชบุรี /เจ้าอาวาส พระพิศิษฎ์พัฒนพิธาน /ตามมติ มส.ครั้งที่ 24/2551
  9. วัดหนองกลางด่าน ต.กรับใหญ่ อ.บ้านโป่ง /เจ้าอาวาส พระครูอุปถัมภ์ปุญญากร /ตามมติ มส.ครั้งที่ 24/2551
  10. วัดประชารังสรรค์ ต.ท่าผา อ.บ้านโป่ง /เจ้าอาวาส พระครูไพศาลพัฒนาภิรัต /ตามมติ มส.ครั้งที่ 24/2551
  11. วัดหลักหกรัตนาราม ต.ศรีสุราษฎร์ อ.ดำเนินสะดวก /เจ้าอาวาส พระครูสิริวรรณวิวัฒน์ /ตามมติ มส. ครั้งที่ 24/2551
  12. วัดปราสาทสิทธิ์ ต.ประสาทสิทธิ์ อ.ดำเนินสะดวก /เจ้าอาวาส พระมหาชัยพร วลฺลโภ /ตามมติ มส.ครั้งที่ 24/2551
  13. วัดปากท่อ ต.ปากท่อ อ.ปากท่อ /เจ้าอาวาส พระครูสุภัทรญาณนิวิฐ จอ. /ตามมติ มส.ครั้งที่ 24/2551
  14. วัดกลางวังเย็น ต.วังเย็น อ.บางแพ /เจ้าอาวาส พระครูโสภณอาจารคุณ จอ. /ตามมติ มส.ครั้งที่ 24/2551
  15. วัดบางกะโด ต.บ้านสิงห์ อ.โพธาราม /เจ้าอาวาส พระครูวิชัยพัฒนาภรณ์ /ตามมติ มส.ครั้งที่ 24/2551
  16. วัดบางลี่เจริญธรรม ต.โคกหม้อ อ.เมืองราชบุรี /เจ้าอาวาส พระครูโสภณวิภูษิต /ตามมติ มส.ครั้งที่ 24/2551
  17. วัดพเนินพลู ต.บางป่า อ.เมืองราชบุรี /เจ้าอาวาส พระครูภาวนาธรรมรังษี /ตามมติ มส.ครั้งที่ 24/2551 
  18. วัดหนองตาเนิด ต.ปากช่อง อ.จอมบึง /เจ้าอาวาส พระอธิการสถิตย์ สถิตฺถิโก /ตามมติ มส.ครั้งที่ 24/2551
  19. วัดอ้ออีเขียว ต.กรับใหญ่ อ.บ้านโป่ง /เจ้าอาวาส พระครูสันติธรรมาภิรัต /ตามมติ มส.ครั้งที่ 24/2551
  20. วัดอุทุมพรทาราม  ต.สวนกล้วย อ.บ้านโป่ง /เจ้าอาวาส พระครูประสิทธิ์สุตกิจ /ตามมติ มส.ครั้งที่ 24/2551
  21. วัดไทรอารีรักษ์ ต.โพธาราม อ.โพธาราม /เจ้าอาวาส พระครูไกรสรวรคุณ /ตามมติ มส.ครั้งที่ 24/2551
  22. วัดเขาช่องพราน ต.เตาปูน อ.โพธาราม /เจ้าอาวาส พระครูวิสุทธานันทคุณ /ตามมติ มส. ครั้งที่ 24/2551
  23. วัดหนองโพ ต.หนองโพ อ.โพธาราม /เจ้าอาวาส พระมหาสมคิด อตฺถสิทฺโธ /ตามมติ มส.ครั้งที่ 24/2551
  24. วัดเนกขัมมาราม ต.สี่หมื่น อ.ดำเนินสะดวก /เจ้าอาวาส พระครูไพศาลพัฒนาภรณ์ /ตามมติ มส.ครั้งที่ 24/2551
  25. วัดทุ่งหลวง ต.ทุ่งหลวง อ.ปากท่อ /เจ้าอาวาส พระอธิการเสน่ห์ มหทฺธโน /ตามมติ มส.ครั้งที่ 24/2551
  26. วัดหัวโพ ต.หัวโพ อ.บางแพ /เจ้าอาวาส พระครูสังฆการโกวิท /ตามมติ มส.ครั้งที่ 24/2551
  27. วัดหนองหมี ต.ท่าเคย อ.สวนผึ้ง /เจ้าอาวาส พระครูจริยธรรมานุรักษ์ จอ. /ตามมติ มส.ครั้งที่ 24/2551

ธรรมยุต จำนวน 5 แห่ง
  1. วัดอมรินทราราม ต.โคกหม้อ อ.เมืองราชบุรี /เจ้าอาวาส พระโสภณสีลคุณ /ตามมิต มส.ครั้งที่ 7/2554
  2. วัดเขานกกระจิบ ต.น้ำพุ อ.เมืองราชบุรี /เจ้าอาวาส พระครูวิบูลกิจจาทร /ตามมติ มส.ครั้งที่ 7/2554
  3. วัดอริยวงศาราม ต.ดอนกระเบื้อง อ.บ้านโป่ง /เจ้าอาวาส พระอุดมคัมภีรญาณ /ตามมติ มส.ครั้งที่ 7/2554
  4. วัดป่าพระธาตุเขาน้อย ต.บ้านคา อ.บ้านคา /เจ้าอาวาส พระครูภาวนาสุทธิคุณ /ตามมติ มส.ครั้งที่ 7/2554
  5. วัดป่าโป่งกระทิง ต.บ้านบึง อ.บ้านคา /เจ้าอาวาส พระครูเขมากรวิสุทธิ์ /ตามมติ มส.ครั้งที่ 7/2554

*****************************
ที่มาข้อมูล
อ่านต่อ >>

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ รุ่น "ราชบุรีมหามงคล"

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ
รุ่น "ราชบุรีมหามงคล"

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ รุ่น "ราชบุรีมหามงคล" นี้ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด ร่วมกับผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ในพื้นที่ 9 ตำบลรอบโรงไฟฟ้า อันได้แก่ ต.สามเรือน ต.พิกุลทอง ต.บางป่า ต.ท่าราบ อ.เมืองราชบุรี, ต.บ้านไร่ ต.แพงพวย อ.ดำเนินสะดวก ,ต.วัดแก้ว อ.บางแพ และ ต.บ้านสิงห์ ต.ดอนทราย อ.โพธาราม จ.ราชบุรี จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2554 และเพื่อร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันสำคัญของชาติ โดยจะทำการมอบพระพุทธรูปนี้ ให้แก่ประชาชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าราชบุรี ไว้บูชาประจำครัวเรือน


ทั้งนี้กลุ่มผู้นำท้องถิ่นและผู้นำท้องที่ทั้ง 9 ตำบล ยังได้ร่วมสมทบงบประมาณในการจัดสร้างผ่านเงินจากกองทุนพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรีในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีจำกัด และบริษัท ราชบุรีเพาเวอร์ จำกัด อีกตำบลละ 100,000 บาท รวมเป็นเงิน 900,000 บาท เพื่อสมทบจัดสร้างครั้งนี้ด้วย


***********************************
อ่านต่อ >>

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แม่น้ำราชบุรี -เบญจสุทธคงคา หนึ่งในน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์

เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 84  พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2554  ที่จะถึงนี้ ทางรัฐบาลจะจัดให้มี "พิธีเสกทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์"  ขึ้นเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเป็นน้ำสรงอภิเษกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ในพระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคมรับการถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5  ธันวาคม 2554 

ประกอบกับจังหวัดราชบุรี ได้รับมอบหมายให้จัดสร้าง "โถสำหรับใส่น้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์" เพื่อใส่น้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศรวม 77 จังหวัด  ผู้จัดทำจึงได้พยายามสืบค้นเรื่องนี้ จนกระทั่งได้ไปพบโดยบังเอิญว่า  "แม่น้ำราชบุรีของเราเป็นหนึ่งในเบญจสุทธคงคา ที่ใช้ทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์มาตั้งแต่ในสมัยก่อนแล้ว"

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (2550,12-15) ได้เขียนเรื่องนี้ไว้ว่า
"ตามตำราข้างพราหมณ์ กล่าวว่าแหล่งน้ำสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ได้แก่ น้ำจากแม่น้ำห้าสายในชมพูทวีป คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำมหิ แม่น้ำยมนา แม่น้ำอจิรวดี และแม่น้ำสรภู ซึ่งรวมเรียกว่า "ปัญจมหานที" เพราะเชื่อว่าแม่น้ำทั้ง 5 สาย ไหลมาจากเขาไกรลาส ซึ่งเป็นที่สถิตของพระอิศวร

แหลงน้ำที่สำคัญและเป็นสิริมงคลตามโบราณราชประเพณีไทยนั้น จากหลักฐานในราชกิจจานุเบกษา ฉบับจดหมายเหตุ พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และพระราชพิธีเฉลิมพระราชมนเทียร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดลยเดชฯ พุทธศักราช 2493 และจากหนังสือชุดราชประเพณีไทย เรื่อง "พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์" เรียบเรียงโดย หมอมราชวงศ์แสงสูรย์ ลดาวัลย์ คณะอนุกรรมการจัดทำเอกสารภาษาไทย ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีจัดพิมพ์เผยแพร่ ได้กล่าวถึง แหล่งน้ำสำคัญและสถานที่เสกทำน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้เป็นน้ำสรงมูรธาภิเษกในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาสืบเนื่องมาถึงรัชกาลปัจจุบัน สำหรับน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้การพระราชพิธีอื่นยังสอบไม่พบหลักฐานแน่ชัด

แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้จากหนังสือทั้งสองเล่มเกี่ยวกับแหล่งน้ำสำคัญและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ได้รับความเคารพเลื่อมใสกันมาแต่โบราณกาล มีความโดยสังเขป ดังนี้

น้ำสรงมูรธาภิเษก ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการใช้น้ำจาก สระเกษ สระแก้ว สระคงคา สระยมนา ในแขวงเมืองสุพรรณบุรี  แต่จะใช้น้ำในปัญจมหานทีในชมพูทวีปด้วยหรือไม่นั้นไม่ปรากฏ

หลักฐานในสมัยกรุงธนบุรีมิได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ น้ำสรงมูรธาภิเษก ในรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 4 นอกจากจะใช้น้ำจากสระเกษ สระแก้ว สระคงคา สระยมนา ดังเช่นสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว ยังมีการใช้น้ำในแม่น้ำสำคัญของประเทศเพิ่มเติมอีก 5 สาย คือ
  1. แม่น้ำบางประกง ตักที่บึงพระอาจารย์ แขวงเมืองนครนายก
  2. แมน้ำป่าสัก ตักที่ตำบลท่าราบ แขวงเมืองสระบุรี
  3. แม่น้ำเจ้าพระยา ตักที่ตำบลบางแก้ว แขวงเมืองอ่างทอง
  4. แม่น้ำราชบุรี ตักที่ตำบลดาวดึงส์ แขวงเมืองสมุทรสงคราม
  5. แม่น้ำเพชรบุรี ตักที่ตำบลท่าไชย แขวงเมืองเพชรบุรี 
น้ำในแม่น้ำทั้ง 5 สายนี้ มีชื่อเรียกว่า "เบญจสุทธคงคา" โดยอนุโลมตามปัญจมหานทีในชมพูทวีป น้ำแต่ละแห่งดังกล่าว เมื่อตักแล้วจะตั้งพิธีเสก ณ เจดียสถานสำคัญแห่งแขวงนั้นๆ แล้วจึงจัดส่งเข้ามาทำพิธีที่กรุงเทพมหานครต่อไป"

และต่อมาน้ำสรงมูรธาภิเษกในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในรัชกาลที่ 5 ถึง 8 ก็ยังคงใช้น้ำเบญจสุทธคงคา ตลอดมา อาจเพิ่มเติมจากแหล่งน้ำอื่นๆ ตามแต่ความเชื่อในแต่ละสมัย ซึ่งผู้จัดทำจะไม่ขอกล่าวถึง (ผู้อ่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ น้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธ์ แหล่งน้ำสำคัญ ตามโบราณราชประเพณี)

แม่น้ำราชบุรี บริเวณคลองสามแยกหน้าวัดดาวดึงส์
ที่มาของภาพ
http://www.teawtourthai.com/samutsongkhram/?id=2547
จุดตักน้ำศักดิ์สิทธิ์
ในเว็บไซต์ หมอชิต และเที่ยวทั่วไทย เขียนเรื่องเกี่ยวกับ แม่น้ำราชบุรี เบญจสุทธคงคา สอดคล้องกันโดยกล่าวว่า "แม่น้ำราชบุรี บริเวณคลองสามแยกหน้าวัดดาวดึงส์ ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม บริเวณจุดที่กำหนดให้เป็นจุดตักน้ำศักดิ์สิทธิ์นั้น คือ บริเวณสามแยกที่น้ำจะไหลมาจากคลอง 3 คลอง คือ คลองผีหลอก คลองอัมพวา และคลองดำเนินสะดวก โดยน้ำที่ไหลมาจากคลองทั้งสามแห่งจะมาบรรจบกัน ณ จุดนี้ ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำแม่กลอง ซึ่งบริเวณจุดตัดดังกล่าวเป็นวังน้ำวนที่น้ำลึกและเชี่ยวมาก ถือเป็นบ่อที่ลึกที่สุดในบริเวณนั้น

นอกจากนั้นประวัติศาสตร์ยังบันทึกไว้ว่า ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้น ณ คลองอัมพวา ได้เสด็จมาประทับยังศาลาการเปรียญในวัดดาวดึงส์ และจัดทำเครื่องเสวยในบริเวณนั้น ซึ่งการเสด็จในครั้งนั้นได้สรงน้ำในคลองสามแยก ทั้งยังใช้น้ำดังกล่าวเพื่อประกอบการทำเครื่องเสวยอีกด้วย ชาวบ้านในละแวกนั้นจึงถือว่าน้ำที่คลองสามแยก หน้าวัดดาวดึงส์แห่งนี้เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ มีการอัญเชิญมาใช้เพื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบัน"

แม่น้ำราชบุรีอยู่ที่ไหน
จากการพบบันทึกต่างๆ ที่กล่าวมาทำให้ผู้จัดทำ รู้สึกว่า "แม่น้ำราชบุรี คือแม่น้ำแม่กลอง ใช่หรือไม่" เพราะไม่ค่อยมีการบันทึกเรื่องราวของ "แม่น้ำราชบุรี" เลย มีแต่เรื่องราวของแม่น้ำแม่กลองหรือลำน้ำแม่กลองเท่านั้น และในยุคสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ก็มีเมืองแม่กลองเกิดขึ้นแล้ว

ส่วนจุดตักน้ำศักดิ์สิทธ์ ที่อยู่ตรงคลองสามแยกหน้าวัดดาวดึงส์ ต.บางช้าง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม นั้นก็พอสันนิษฐานได้ว่า ตรงนั้นเป็นที่อยู่ของราชินีกุลบางช้าง (สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1) ซึ่งน่าจะสะดวกในการกระทำพิธี

ส่วนที่ระบุว่า บริเวณจุดที่กำหนดให้เป็นจุดตักน้ำศักดิ์สิทธิ์นั้น คือ บริเวณสามแยกที่น้ำจะไหลมาจากคลอง 3 คลอง คือ คลองผีหลอก คลองอัมพวา และคลองดำเนินสะดวก แต่ก็มีข้อสงสัยว่า คลองดำเนินสะดวกนั้น ขุดเสร็จและเปิดใช้งานในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411) ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 1-4 จึงน่าจะยังไม่มีคลองดำเนินสะดวก


จุกตักน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ คลองสามแยกหน้าวัดดาวดึงส์
ต.บางช้าง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
(สันนิษฐานโดยผู้จัดทำ..อาจไม่ถูกต้อง)
ที่มาของแผนที่  
http://maps.google.co.th

ดังนั้น จุดตักน้ำเพื่อใช้ทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์และแม่น้ำราชบุรี เบญจสุทธคงคา นี้ ผู้จัดทำก็ยังไม่แน่ใจว่าที่ค้นคว้ามาให้อ่านนี้จะถูกต้องหรือไม่ หากท่านใดมีความรู้หรือข้อมูลเพิ่มเติมโปรดช่วยแสดงเอาไว้ที่ท้ายบทความนี้ เพื่อเป็นความรู้ที่ถูกต้องต่อไป

**************************************************
ที่มาข้อมูล
  • กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท่องถิ่น. (2550). หนังสือน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550.[Online]. Available :http://www.stabundamrong.go.th/web/holywater/water2.PDF. [2554 กรกฏาคม 21].
  • หมอชิต.(2554).แม่น้ำราชบุรี เบญจสุทธิคงคา.[Online]. Available :http://www.mochit.com/place/2258. [2554 กรกฎาคม 21 ].
  • เที่ยวทั่วไทย.(2554).แม่น้ำราชบุรี เบญจสุทธิคงคา จ.สมุทรสงคราม.[Online]. Available :http://www.teawtourthai.com/samutsongkhram/?id=2547. [2554 กรกฎาคม 21 ].
อ่านต่อ >>

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

รายนามพระคณาจารย์ จังหวัดราชบุรี

เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่กล่อม
วัดขนอน
ที่มาของภาพ
http://www.krusiam.com/
รายนามพระคณาจารย์ จังหวัดราชบุรี นี้ ผมนำมาจากหนังสือสูจิบัตรการประกวดการอนุรักษ์ พระเครื่อง-พระบูชาฯลฯ ในงานเที่ยวราชบุรี ปี 2004 (ดูรายละเอียดหนังสือ) ซึ่งจัดประกวดโดย ชมรมพระเครื่องจังหวัดราชบุรี โดย นายพรเลิศ (เพ้ง) วิเศษวิทย์สกุล เป็นประธานชมรมฯ จัดประกวดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2547 ณ  โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ อ.เมือง จ.ราชบุรี ซึ่งรายนามพระคณาจารย์ จังหวัดราชบุรี ดังกล่าวอาจตกหล่นไปบ้าง เพราะผมไม่มีความรู้ในเรื่องนี้มากนัก ก็ขอความกรุณาท่านผู้รู้และผู้ที่เชี่ยวชาญ ได้กรุณาเพิ่มเติมไว้ได้ที่ท้ายบทความนี้ เพื่อเป็นความสมบูรณ์ต่อไป

รายนามพระคณาจารย์ จังหวัดราชบุรี (ที่จัดประกวดในงาน)
  • เหรียญสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ วัดศรีสุริยวงศ์ ปี 2465
  • เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่กล่อม วัดขนอน
  • เหรียญพระปิดตา  วัดโชติทายการาม หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่าปลุกเสก
  • เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อเชย วัดโชติทายการาม ปี 2494 ไม่จำกัดบล็อค
  • เหรียญรุ่นสองหลวงพ่อเชย วัดโชติทายการาม พิมพ์รูปไข่ ปี 2495
  • เหรียญพระพุทธวิริยากร (จิตร) ปี 2481 หลังพระแก้วมรกต วัดตาลอัมรินทร์
  • เหรียญหล่อรุ่นแรก หลวงพ่อนิ่ม  วัดหนามพุงดอ
  • เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม ปี 2494 พิมพ์รูปไข่เล็ก
  • รูปหล่อรุ่นแรก  หลวงพ่อชุ่ม  วัดราชคาม  พิมพ์ใหญ่
  • รูปหล่อรุ่นแรก  หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม  พิมพ์เล็ก
  • เหรียญหล่อรุ่นแรก  หลวงพ่อจุ่น  วัดโคกบำรุงราษฎร์ ปี 2509
  • เหรียญรุ่นแรกพระครูวาปีวรคุณ วัดจอมบึง ปี 2503
  • พระไตรปิฏก  วัดสัตตนารถปริวัตร  ไม่จำกัดพิมพ์
  • พระกรุถ้ำฤาษีเขางู  ไม่จำกัดพิมพ์
  • พระพิมพ์สมเด็จ  วัดแช่ไห  ไม่จำกัดพิมพ์
  • พระยอดธง  รุ่นแรก  หลวงพ่อเฟื่อง  วัดอมรญาติสมาคม
  • พระยอดธง  รุ่นสอง หลวงพ่อเฟื่อง  วัดอมรญาติสมาคม
  • พระยอดธง  รุ่นสาม หลวงพ่อเฟื่อง  วัดอมรญาติสมาคม
  • เหรียญเมฆพัด  หลวงพ่อโต วัดหลักหก  ปี 2470  ไม่จำกัดพิมพ์
  • เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อบุญ  วัดวังมะนาว  ปี 2500
  • เหรียญหลวงพ่อไสว  วัดดอนแจง ปี 2511
  • เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อแม้น  วัดโพธิ์หัก
  • เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อชื่น  วัดคูบัว ไม่จำกัดบล็อค
  • เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อสง่า  วัดหนองม่วง (ไม่มี พ.ศ.)
  • รูปหล่อรุ่นแรกหลวงพ่อสง่า  วัดหนองม่วง
  • เหรียญเสมารุ่นแรกหลวงพ่อไตรรัตน์  วัดประสาทสิทธิ์
  • เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่อินทร์  วัดหนองรี
  • เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อแทน   วัดธรรมเสน  ปราบภัยสยาม
  • พระผงรุ่นแรกพิมพ์สมเด็จ  หลวงพ่อแทน  วัดธรรมเสน
  • พระผงรุ่นแรกหลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน ไม่จำกัดพิมพ์

**********************************************************

ที่มาข้อมูล
ชมรมพระเครื่องจังหวัดราชบุรี. (2547). สูจิบัตรการประกวดการอนุรักษ์พระเครื่อง-พระบูชา ฯลฯ.งานเที่ยวราชบุรีปี 2004 : 22 ก.พ.2547. (หน้า 91) (ดูภาพหนังสือ)
อ่านต่อ >>

รายนามพระยอดนิยม จังหวัดราชบุรี

เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์
พิมพ์พุ่มข้าวบิน (ยันต์ตรง) ปี 2496
ที่มาของภาพ
http://www.amuletinter.com/

รายนามพระยอดนิยมจังหวัดราชบุรี นี้ ผมนำมาจากหนังสือสูจิบัตรการประกวดการอนุรักษ์ พระเครื่อง-พระบูชาฯลฯ ในงานเที่ยวราชบุรี ปี 2004 (ดูรายละเอียดหนังสือ) ซึ่งจัดประกวดโดย ชมรมพระเครื่องจังหวัดราชบุรี โดย นายพรเลิศ (เพ้ง) วิเศษวิทย์สกุล เป็นประธานชมรมฯ  จัดประกวดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2547 ณ โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ อ.เมือง จ.ราชบุรี  ซึ่งรายนามพระยอดนิยมจังหวัดราชบุรี ดังกล่าวอาจตกหล่นไปบ้าง เพราะผมไม่มีความรู้ในเรื่องนี้มากนัก  ก็ขอความกรุณาท่านผู้รู้และผู้ที่เชี่ยวชาญ ได้กรุณาเพิ่มเติมไว้ได้ที่ท้ายบทความนี้  เพื่อเป็นความสมบูรณ์ต่อไป

 รายนามพระยอดนิยม จังหวัดราชบุรี (ที่จัดประกวดในงาน)
  • พระท่ากระดาน  พิมพ์ใหญ่  กรุวัดใหม่หนองอีจาง
  • พระท่ากระดานน้อย สนิมแดง กรุวัดศาลเจ้า
  • พระยอดธงรุ่นแรก  หลวงพ่อเฟื่อง  วัดอมรญาติสมาคม
  • พระปิดตาหลวงพ่อปล้อง  วัดหลุมดิน เนื้อเมฆพัด  พิมพ์ใหญ่
  • พระปิดตาหลวงพ่อปล้อง  วัดหลุมดิน เนื้อเมฆพัด  พิมพ์กลาง
  • พระปิดตาหลวงพ่อกล้อง  วัดหลุมดิน เนื้อเมฆพัด  พิมพ์เล็ก
  • พระปิดตาหลวงพ่อปล้อง  วัดหลุมดิน ไม่จำกัดเนื้อ ไม่จำกัดพิมพ์
  • พระกลีบบัว วัดหลุมดิน  ไม่จำกัดเนื้อ
  • พระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์ หลวงปู่ภู วัดอินทร์ฯ กรุงเทพฯ แจกวัดเกาะนัมทาฯ
  • พระสมเด็จพิมพ์ฐานห้าชั้น หลวงปู่ภู  วัดอินทร์ฯ กรุงเทพฯ แจกวัดเกาะนัมทาฯ
  • พระสมเด็จพิมพ์ฐานเจ็ดชั้น หลวงปู่ภู วัดอินทร์ฯ กรุงเทพฯ แจกวัดเกาะนัมทาฯ
  • เหรียญเต่าพระพุทธวิริยากร (จิตร ฉนฺโน) วัดสัตตนารถปริวัตร ปี 2458 (ดูรายละเอียดเพิ่มเติม)
  • เหรียญพระครูวินัยธรรม (อินทร์) วัดสัตตนารถปริวัตร ปี 2473
  • เหรียญหล่อหลวงปู่ห้อง วัดช่องลม ปี 2465 (ดูรายละเอียดเพิ่มเติม)
  • เหรียญปั๊มรุ่นแรก หลวงปู่ห้อง วัดช่องลม ปี 2465 ไม่จำกัดบล็อค
  • เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่ออินทร์ (ดำ) วัดตาลบำรุงกิจ ปี 2459
  • เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อฟัก  วัดบ้านโป่ง ปี 2461
  • เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อฮั้ว  วัดกลางวังเย็น ปี 2461
  • เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่จันทร์  วัดบ้านยาง
  • เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อคง  วัดศรัทธาราษฎร์  ปี 2462
  • เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อคง  วัดท่าหลวงพล ปี 2481
  • เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่ออินทร์  วัดโบสถ์  พิมพ์สี่เหลี่ยม ปี 2496
  • เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่ออินทร์  วัดโบสถ์  พิมพ์พุ่มข้าบิณฑ์ (ยันต์ตรง) ปี 2496
  • เหรียญรุ่นแรกพระครูขันตยาภิรัต (หลวงพ่อป๋อง) วัดหนองกระทุ่ม หลังยันต์สี่
  • เหรียญรุ่นแรกพระครูขันตยาภิรัต (หลวงพ่อป๋อง) วัดหนองกระทุ่ม  หลังยันต์เทาะใหญ่
  • เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อเปลี่ยน วัดบ้านโพธิ์ ปี 2484
  • เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม ปี 2486 เนื้ออัลปาก้า, เนื้อทองเหลือง
  • เหรียญพลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม ปี 2486 เนื้อทองแดง
  • เหรียญเต่าหลวงพ่อย่น  วัดบ้านฆ้อง รุ่นแรก ปี 2496 บล็อคนิยม
  • พระปิดตาไม้โพธิ์แกะ  หลวงพ่อโนรี  วัดโพธิ์มอญ

*******************************************************

ที่มาข้อมูล
ชมรมพระเครื่องจังหวัดราชบุรี. (2547). สูจิบัตรการประกวดการอนุรักษ์พระเครื่อง-พระบูชา ฯลฯ.งานเที่ยวราชบุรีปี 2004 : 22 ก.พ.2547. (หน้า 90) (ดูภาพหนังสือ)  
อ่านต่อ >>

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พระพุทธรูปปางลีลา


พระพุทธรูปปางลีลา
อุทยานหินเขางู ต.เกาะพลับพลา อ.เมือง จ.ราชบุรี

ข้อความที่ปรากฏในแผ่นจารึกบริเวณฐานพระพุทธรูป

"พระพุทธรูปปางลีลา พระองค์นี้ เริ่มสร้างโดยสมเด็จพระสังฆราชอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฎฐายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม จังหวัดพระนคร  เสด็จวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2510 เวลา 13:00 น. สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2512 

วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2512 เปิดงานเวลา 13:00 น.โหรบูชาฤกษ์ เวลา 17:00 น.พระสงฆ์ 45 รูป เจริญพระพุทธมนต์เนื่องในพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปปางลีลา เวลา 19:00 น.พระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 13 รูป ประกอบพิธีพุทธาภิเษก

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2512 เวลา 11:00 น.ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ไทย จีน ญวน และพม่า จำนวน 512 รูป หลังจากนั้น ทูลอาราธนาสมเด็จพระสังฆราชทำพิธียกฉัตร์เหนือเศียรพระพุทธรูป"

แผ่นจารึกบริเวณฐานพระพุทธรูป

อ่านต่อ >>

วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พ.ศ.2551



เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
รุ่น ค่ายโคกกระต่าย พ.ศ.2318
อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
สร้างเมื่อ 28 ธันวาคม 2551

อ่านเพิ่มเติม


**********************************

อ่านต่อ >>

เหรียญพระครูบัณฑิตรัตนากร วัดเจติยาราม พ.ศ.2547





เหรียญพระครูบัณฑิตรัตนากร (ลอย)
วัดเจติยาราม (เจดีย์หัก)
ต.เจดีย์หัก อ.เมือง จ.ราชบุรี

สร้างเป็นที่ระลึกงานผูกพัทธสีมาวัดเจติยาราม
เมื่อวันที่ 21-29 มกราคม พ.ศ.2547



ป้ายแขวนศิริมงคล
อายุ วรรณะ สุขะ พละ
ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข

ด้านที่ 1 พระอุปัชฌาย์แพร  ปุณฺชาโต
ด้านที่ 2 พระครูบัณฑิตรัตนากร วัดเจติยาราม (เจดีย์หัก) อ.เมือง จ.ราชบุรี

สร้างเป็นที่ระลึกงานผูกพัทธสีมาวัดเจติยาราม
เมื่อวันที่ 21-29 มกราคม พ.ศ.2547


***************************************

อ่านต่อ >>

สมเด็จหลวงพ่อโห้ ธมฺมสโร วัดนาหนอง พ.ศ.2551



สมเด็จหลวงพ่อโห้ ธมฺมสโร (พระครูวิธานศาสนกิจ)
จัดสร้างในโอกาสงานฉลองพระพุทธบาท
วัดนาหนอง ต.ดอนแร่ อ.เมือง จ.ราชบุรี
ปี พ.ศ.2551

********************************

อ่านต่อ >>

จตุคามเจ้าพ่อหลักเมืองราชบุรี




จตุคามเจ้าพ่อหลักเมืองราชบุรี
รุ่นรวยทรัพย์ รวยสุข
สร้งเมื่อ พ.ศ.2550
โดย
วัดท้ายเมือง ต.พงสวาย อ.เมือง จ.ราชบุรี

***********************
อ่านต่อ >>

พระนอน วัดอรัญญิกาวาส


พระนอน วัดอรัญญิกาวาส
ต.เจดีย์หัก อ.เมือง จ.ราชบุรี

สร้างเมื่อปี พ.ศ.2030-2035
เป็นลักษณะหินทรายแดง มีความยาว 15 วา

ผู้สร้าง ขุนหาญ บุญไทย

ทำการบูรณซ่อมแซมโดยการครอบองค์จริง
โดยองค์ที่สร้างใหม่ยาว 30 วา
ทำการบูรณะโดยท่านเจ้าคุณมหาสมณวงค์ (แท่น)
และครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ.2515 โดย กรมศิลปากร
บูรณะเสร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ.2547
ในสมัย พระครูมงคลเจติยานรักษ์ (พระไฝ นาคาเสโน)

บทสวดบูชาพระนอน
(พระปางไสยา พระประจำวันอังคาร)
ตั้งนะโม 3 จบ
ยัสสานุสสะระเณนาปี  อันตะลิกเขปิ  ปาณิโน ปะติฎฐะมะ
ธิคัจฉันติ ภูมิยัง วิยะสัพพะทา สพพูปัททะวะชาลัมหา ยักขะ
โจราทิสัมภะวา คะณะนา นะ จะ มุตตานัง ปะริตตัน ตัมภะ ฌามะ เหฯ
(สวดวันละ 8 จบ จะมีความสุขสวัสดีตลอดกาลนาน)

อ่านต่อ >>

พระโพธิสัตว์กวนอิม วัดหนองหอย


พระโพธิสัตว์กวนอิมยืนประทานพร
วัดหนองหอย ต.เขาแร้ง อ.เมือง จ.ราชบุรี
สร้างขึ้นโดยพระพิศิษฎ์พัฒนพิธาน (ดาวเรือง อาจารคุโณ)
เจ้าอาวาสวัดหนองหอย รูปปัจจุบันร่วมกับญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา
ทำพิธีเททองหล่อเมื่อวันที่ 14 เม.ย.2525 เวลา 14:00 น.

"หัตถ์ซ้ายทรงแจกันมณีอันบรรจุน้ำค้างทิพย์แห่งความกรุณา
หัตถ์ขวาทรงกิ่งสน ยืนประทับบนดอกบัว"

สูงประมาณ 3.59 เมตร มีน้ำหนักประมาณ 2 ตัน
อัญเชิญประดิษฐานในวิหาร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2525


พระโพธิสัตว์กวนอิมนั่งประทานพร
วัดหนองหอย ต.เขาแร้ง อ.เมือง จ.ราชบุรี
สร้างขึ้นโดยพระพิศิษฎ์พัฒนพิธาน (ดาวเรือง อาจารคุโณ)
เจ้าอาวาสวัดหนองหอย รูปปัจจุบันร่วมกับญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา

หล่อด้วยทองเหลืองเป็นชิ้นๆ นำมาประกอบขึ้นเป็นรูป
ปางนั่งประทานพร สูง 16 เมตร หน้าตักกว้าง 9 เมตร
น้ำหนักประมาณ 50 ตัน

เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.2539
สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2542
ฉลองพระองค์เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2544

*********************************************

อ่านต่อ >>

เหรียญพระครูธีรญาณประยุต (เชื้อ) พ.ศ.2533



เหรียญพระครูธีรญาณประยุต (เชื้อ ธีรปัญฺโญ)
เจ้าอาวาสวัดใหญ่อ่างทอง ต.อ่างทอง อ.เมือง จ.ราชบุรี
สร้างเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2533

แจกเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงตัวท่านเอง
ณ เมรุลอยพิเศษ วัดใหญ่อ่างทอง ต.อ่างทอง อ.เมือง จ.ราชบุรี
เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2554

อ่านเพิ่มเติม


******************************************************* 
อ่านต่อ >>

เหรียญหลวงพ่อทิพย์เกษร พ.ศ.2524


เหรียญหลวงพ่อทิพย์เกษร
สร้างเป็นที่ระลึกในงานผูกพัทธสีมา
วัดหนองเกสร ต.สารพระ อ.วัดเพลง จ.ราชบุรี
ระหว่างวันที่ 28-30 มกราคม พ.ศ.2524

ด้านหลัง
พระครูปลัดธรรมนุวัฒน์ (ปิ่น)
อ่านต่อ >>

เหรียญหลวงปู่ต๊ะ วัดเขาช่องพราน พ.ศ.2533



เหรียญหลวงปู่ต๊ะ
อายุ 95 ปี
เจ้าอาวาสวัดเขาช่องพราน
ต.เตาปูน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
สร้างเมื่อ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2533

เช่าบูชาเมื่อวันที่ 1 พ.ค.2554 ราคา 50 บาท
จากวัดเขาช่องพราน
(พระที่วัดบอกว่า เป็นเหรียญรุ่น 2)

อ่านต่อ >>

เหรียญหลวงพ่อพันปี วัดมหาธาตุ พ.ศ.2520


เหรียญหลวงพ่อพันปี (พระชัยพุทธมหานาค)
 วัดมหาธาตุวรวิหาร ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี
สร้างปี พ.ศ.2520
หลวงพ่อพันปี ประดิษฐานอยู่ในปรางค์ประธานของวัด

อ่านเพิ่มเติม

***************************
อ่านต่อ >>

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เหรียญหลวงพ่ออุทัย วัดเกาะตาพุด-พ.ศ.2549





เหรียญพระครูสังฆรักษ์อุทัย ปภงฺกโร (หลวงพ่ออุทัย)
วัดเกาะตาพุด (วัดศรีมฤคทายวัน) ตำบลธรรมเสน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
สร้างในโอกาสครบ 6 รอบ 72 ปี พ.ศ.2549 เนื้อระฆัง
ได้รับเมื่อ 1 พฤษภาคม 2554
อ่านต่อ >>